Wednesday, May 27, 2015

วันนี้ เราจะมาให้ความรู้กันอีกเรื่องหนึ่งกันครับ อาการนี้หมอนวดเป็นกันมาก เรียกว่า”เอ็นเข้าศอก” อาการ ถ้าสาเหตุมาจากนิ้วโป้งจะปวดที่ร่องข้างกระดูกข้อศอก ที่มุมหรือร่องข้อศอกด้านนอก ถ้าสาเหตุมาจากนิ้วก้อยจะปวดที่มุมหรือร่องด้านใน แต่เป็นที่นิ้วก้อยเป็นส่วนน้อย อาการทำให้เท้าแขนไม่ได้ หรือเวลาใช้นิ้วโป้งเพื่อกดนวดใหม่ๆก็ไม่เป็นไร พอนวดหนักๆกดแทบไม่ได้มีอาการเจ็บแปล๊บๆที่ศอกตลอดเวลา(อาการนี้ ต่างกับอาการเอ็นข้อศอกอักเสบ หรือเทนนิสเอลโบนะครับ วันหลังไว้มีโอกาสเราค่อยมาคุยเรื่องนี้กัน) สาเหตุมาจากการใช้นิ้วเกินกำลัง หรือบางทีใช้ศอกกด แต่กดไม่เป็น เวลาหมอนวดใช้ศอกชอบใช้ท่อนแขนด้านล่าง(ใต้ศอกลงมา-ข้อมือ)กดศอก ซึ่งความเป็นจริงแล้ววิธีที่ถูกควรจะใช้หัวไหล่เป็นตัวส่งพลังลงไปที่ศอก โดยเวลาใช้ศอกให้หมอนวดยกตัวให้สูงเพื่อใช้ไหล่ได้ถนัด ถ้าต้องการแรงส่งให้ใช้ลำตัวช่วยก็จะได้แรงมากขึ้นและไม่บาดเจ็บง่าย เวลาเป็นแล้วหาคนแก้อาการยาก มักแก้ไม่ค่อยถูกเนื่องจากหมอนวดมักนวดที่ศอกเลย แบบนี้ทำยังไงก็ไม่หาย มันมี”เคล็ดลับ”ครับผมผมจะบอกให้เป็นวิทยาทานกัน แต่ถ้าแก้อาการได้แล้ว ต้องบอกให้หมอนวดรู้และอย่าปิดบังหรือเก็บความรู้ไว้เพียงผู้เดียว เดี๋ยวความรู้จะตายไปกับเรา เมื่อนับถือผมเป็น”ครู”ก็ต้องเชื่อครูว่า”ยิ่งให้ ยิ่งได้”เอาล่ะครับมาดูวิธีนวดกัน(ไว้ผมลงvdoให้ดูเพื่อใช้ประกอบกับการอ่าน จะได้ผลดียิ่งขึ้น)
1 หงายฝ่ามือคนไข้ข้างที่เป็น กดกลางใจมือนับในใจ1-10 ทำซ้ำ3ครั้ง แล้วนวดฝ่ามือให้ทั่ว
2 ใช้นิ้วโป้งกดกลางข้อมือแล้วกรีดมาทางนิ้วก้อย ไล่นวดขึ้นไปถึงศอก
3 ใช้นิ้วโป้งกดกลางข้อมือแล้วกรีดมาทางนิ้วโป้ง ไล่นวดไปถึงข้อศอกเช่นเดียวกัน
4 นวดแนวกลางแขน จนถึงข้อศอก
5 เอาล่ะครับถึงเวลาบอกเคล็ดลับกันแล้ว คว่ำมือคนป่วยลง ใช้นิ้วโป้งซ้อนกันจัดกระดูกที่ข้อมือจนกว่าจะลั่น และถ้าเป็นที่ข้อศอกด้านนอก ให้นวดที่ตาตุ่มข้อมือที่นิ้วโป้ง โดยใช้นิ้วโป้งนวดรอบตาตุ่มข้อมือนานๆใช้นิ้วเขี่ยขยับเส้นที่รอบตาตุ่มจนกว่าจะมีเสียงคลิกที่ข้อมือมือ(การลั่นของเอ็น)ที่ข้อศอกจะเบาทันทีแล้วค่อยไปนวดที่ศอกด้านนอก(ในร่องศอก)ไล่ขึ้นไปจนถึงรักแร้ ถ้าเป็นที่ข้อศอกด้านในก็ทำที่นิ้วก้อยในแบบเดียวกัน


Saturday, November 15, 2014

วันนี้เรา มาให้ความรู้เรื่องอาการ”ปวดเข่า”ที่เรียกกันว่า”เข่าบิด”หรือ “ปวดใต้พับเข่า”ก็ได้ สาเหตุ มักเกิดจากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุ เช่นหกล้มเข่ากระแทก ลองมาดูคำถามกันครับ


สวัสดีค่ะทุกๆท่าน
มีเรื่องเรียนปรึกษาค่ะ สองสัปดาห์ที่ผ่านมาดิฉันวิ่ง
แล้วมีเสียงลั่นที่เข่าดังกร๊อบ เบื้องต้นก็ประคบเย็น
เช้าจึงไปหาหมอ
หมอเอกเรย์ดูไม่มีอะไรแตกหัก วินิฉัยว่าข้อเข่าอักเสบ
ให้ยามากิน เป็นยาแก้ปวดยาคลายกล้ามเนื้อ
ตอนนี้เดินลงน้ำหนักขาข้างที่เจ็บไม่ได้ งอเข่าลำบากมาก
รู้สึกเหมือนขาทั้งขาตึง ต้นขาด้านนอกเป็นเส้นแข็ง
ลองกดๆดูแล้วรู้สึกเจ็บนิดหน่อย แต่พอกดนานๆ เริ่มรู้สึกสบาย
แต่ไม่นานก็เริ่มตึงๆอีก บางทีมีอาการเสียว เป็นเส้นๆ
อยากทราบว่าอาการแบบนี้นวดแก้อาการได้ไหมคะ 


ตอบ ก่อนอื่นเราต้องมาดูหรือวินิจฉัยกัน ก่อนอื่น X-Rayมาแล้วกระดูกไม่มีอะไรแตกหัก สบายใจได้เปราะหนึ่ง มาดูอาการเข่าบิดกันครับ
เข่าอยู่ตรงกลาง ระหว่าง ขาท่อนบน และขาท่อนล่าง ศูนย์ถ่วงอยู่ที่ สะโพกหรือที่หัวตะคาก(ข้อต่อของขาด้านบนกับกระดูกเชิงกราน)และที่ข้อเท้า ถ้า2ส่วนนี้ไม่สัมพันธ์กัน(ทะเลาะกัน)เข่าก็มีปัญหา
อาการเข่าบิด สาเหตุเกิดจากอุบัติเหตุ หกล้มเข่ากระแทก หรือเกิดจากการเล่นกีฬา ทำให้เกิดการไม่สบกันของกระดูกเข่า (คือเหลื่อมกันเล็กน้อย) ทำให้มักเจ็บที่เข่าด้านใน ที่มุมของกระดูกเข่า ทำให้ลงน้ำหนักลงขาข้างที่ปวดไม่ได้ มีอาการตึงต้นขา บริเวณใกล้หัวตะคาก และขาด้านนอกจะเป็นเส้นแข็ง และเวลางอเข่าจะชิดก้นไม่ได้ จะตึงหน้าขาเป็นอย่างมาก ปล่อยไว้นาน จะเกิดพังผืดเกาะหนาเป็นก้อนบริเวณมุมเข่าด้านใน(ตรงที่กระดูก ไม่สบกัน)และเกิดอาการเป็นก้อนบริเวณใต้พับเข่า ซึ่งยิ่งถ้าเดินกระเผลกนานๆ พลอยให้กระดูกสันหลังเสียไปด้วย อาการนี้ ควรนวดแต่เนิ่นๆ ปล่อยไว้นานๆจะนวดให้หายยาก มาดูวิธีนวดกันครับ


1 ให้คนไข้นอนหงาย วางขาเป็นเลข4 สังเกตุดูว่าเข่าแตะพื้นหรือไม่ ถ้าไม่แตะพื้นสัญญาณ2(ที่หัวตะคาก)มีปัญหา (แต่ไว้นวดที่หลัง)ให้นวดที่ตาตุ่มข้อเท้าด้านใน และนวดรอบข้อเท้าทั้งหมด


2 ให้นวดขาล่างด้านใน โดยนวด2แนว แนวแรกชิดกระดูกหน้าแข้ง และแนว2แนวกลางน่องด้านใน หลังจากนั้น นวดแนวขาด้านนอก แนวแรกชิดสันหน้าแข้ง และแนวที่2กลางน่องด้านนอกเช่นเดียวกัน


3 ให้คนไข้นอนหงาย แบะขางอเข่าข้างที่ปวด หมอนวดนั่งพับเพียบ เอาเข่าของหมอสอดเข้าไปใต้เข่าผู้ป่วย อาจใช้นิ้วโป้งหรือศอก ค่อยๆ หาจุดเจ็บที่เข่าด้านใน(ถามคนไข้) จะพบมุมกระดูกเข่ามีพังผืดเกาะรอบๆกระดูก ให้ค่อยๆกด จากเบาไปสู่หนัก ให้กดหรือใช้ศอกคลึงจนพังผืดอ่อนตัวลง


4 อยู่ในท่าเดิม ให้ใช้ศอกกดนวดแนวเส้นหนึ่งของขาด้านใน เริ่มจากขอบสบ้า ขึ้นไปถึงขาหนีบ จะพบเส้นแข็งให้นวดจนกว่าจะนิ่ม


5 อยู่ในท่าเดิม แต่ให้เหยียดขาคนไข้ให้ตรง ขายังคงวางอยู่บนหน้าขาหมอนวด นวดเส้นกลางเข่า เริ่มจากกลางสบ้าขึ้นไปจนถึงมุมต้นขาด้านใน(หัวตะคากด้านใน)


6 อยู่ในท่าเดิม นวดแนวขาด้านนอกเส้น1เริ่มจากมุมขอบสบ้าด้านนอก ขึ้นไปต้นขาสุดที่หัวตะคาก ถ้าเข่าบิดหรือทิ้งน้ำหนักลงขาไม่ได้ เส้นนี้จะแข็งเป็นลำเวลานวดใหม่ๆจะเจ็บมาก ให้นวดนานๆ จนกว่าเส้นนิ่มลง
• 7 ตั้งเข่าคนไข้ ใช้นิ้วโป้งกดจุดที่หัวตะคาก(สัญญาณ2 ขาด้านนอก) โดยกดแล้วดันเข่าคนไข้ให้วางกับพื้น กดประมาณ5ครั้ง
8 นวดขาด้านนอกทั้งแนว อาจใช้ศอกกดนวดหรือใช้ปลายเท้าข้างหนึ่งสอดลอดใต้ขาแล้วใช้สันเท้าอีกข้างกดนวดแนวขาด้านด้านนอก ให้นวดจนเส้นที่แข็งนิ่มลง


9 นวดขาด้านในทั้งหมด โดยใช้ส้นมือ กดร่องกล้ามเนื้อแล้วยกกล้ามเนื้อขึ้น(ห้ามนวดขวางกล้ามเนื้อ)


10 กดจุดรอบสลักเพชร โดยหาเส้นที่แข็งเป็นลำ ให้กดจนกว่าจะนิ่มอาจมีมากกว่า1เส้น รอบสลักเพชร สำคัญมากเพราะจุดนี้ ทำให้เกิดการขัดสะโพก

11 ให้คนไข้นอนคว่ำ นวดใต้พับเข่า ให้นวดรอบๆที่เป็นก้อนก่อน อย่านวดก้อนแข็งโดยทันทีจะเจ็บมาก ให้นวดรอบๆนาน แล้วขยับนวดที่เป็นก้อนจนกว่าก้อนนิ่มลง


12 ให้นวดแนวขาด้านหลัง โดยเน้นเส้นข้างด้านนอกใกล้พับเข่า จะพบเส้นแข็งให้กดนวดจนกว่าจะนิ่ม


13 วางฝ่ามือโอบพับเข่า ใช้มือมืออีกข้างจับข้อเท้ายกขึ้น ค่อยๆกดปลายเท้าลงไปที่ก้นช้าๆ ถ้าเจ็บก็พอแค่นั้น แล้วทำซ้ำ10รอบ


14 ให้คนไข้นอนหงาย ตั้งเข่าขึ้น หมอนวดคุกเข่านั่งปลายเท้า เอาปลายเท้าคนไข้วางใต้เข่าหมอนวด ใช้เข่ากดปลายเท้า เอามือทั้ง2ประสานใต้เข่าใกล้พับเข่า ขยับไปมา พอคนไข้เผลอให้ดึงเข่าแรงๆ(ถ้าเข่าไม่ได้รูป หรือเข่าบวม หรือคนไข้อายุมากห้ามทำข้อนี้) ทำซ้ำ3-5ครั้ง


เพียงเท่านี้ คนไข้ก็จะมีอาการดีขึ้น ควรนัดมานวดใหม่จนกว่าจะหายเป็นปรกติ
ไว้มีโอกาส จะถ่ายvdo ให้ดูประกอบการอ่านเพื่อที่จะได้เข้าใจงายขึ้น จะทยอยนำลงครับ




Wednesday, October 1, 2014

วันนี้เราจะมาคุยต่อเนื่องจากเมื่อวาน แล้วอะไรทำให้ลมเกิดอาการผิดปรกติ ซึ่งก็คือ มูลเหตุที่ทำให้เกิดโรค8ประการนั่นเอง




Tuesday, September 30, 2014

วันนี้ เราจะมาให้เคล็ดลับ เกี่ยวกับการนวดแก้อาการกัน แต่ก่อนอื่นต้องขออธิบาย เกี่ยวกับร่างกายของเราก่อน เพราะสำคัญมาก ถ้าอยากเรียนนวดแก้อาการ อย่างน้อย ต้องเรียนรู้ โครงสร้างของร่างกาย เส้นประสาท กล้ามเนื้อ กระดูก ระบบไหลเวียนเลือด น้ำเหลือง แต่วิชาเหล่านี้สามารถศึกษาได้จากหนังสือ หรือสื่อต่างๆหมอนวดถ้าว่างก็ควรหาความรู้เพิ่มเติมด้วยนะครับ อธิบายคร่าวๆนะครับ เฉพาะเรื่องกล้ามเนื้อส่วนรายละเอียดอื่นๆไปหาอ่านเพิ่มเติมกันเอง


ตำรานวดที่เราเรียนกันเช่น นวดพื้นฐานขา เปิดประตูลมนั้นมีอะไรดีๆซ่อนอยู่มากกว่านั้นครับ คนโบราณเขาจึงเขียนเป็นตำราให้พวกเราเรียนกันจนทุกวันนี้ ถ้าเราอยากเป็นหมอนวดที่แก้อาการเก่งๆ ต้องหมั่นสังเกต เช่นนวดพื้นฐานขาในแต่ละเส้นหมอนวดขณะที่นวดต้องดูว่าเส้นที่เรานวดผิดปกติหรือไม่ แข็งเป็นลำหรือเปล่า ถ้าพบนั่นแหละครับคือสาเหตุของความเจ็บป่วย เช่นเส้นหนึ่งของขาด้านนอกเวลาเรานวดจนถึงต้นขาใกล้กับหัวตะคาก ถ้าบริเวณนี้เส้นแข็งเป็นลำ บางครั้งเป็นก้อนเลย นั่นแหละตัวปัญหาเลยทำให้ปวดขาตลอดแนว บางครั้งทำให้เดินเท้าเบี่ยงออกด้านข้างได้ ปวดเข่าบางอย่างก็มาจากตรงนี้ หมอนวดต้องพยายามนวดเส้นที่แข็งหรือเป็นก้อนนี้จนนิ่ม ก็ทำให้อาการดีขึ้นมาก เท่านี้ก็ได้ใจคนป่วยแล้ว อย่างจุดนาคบากก็เช่นเดียวกัน ถ้าคนป่วยมีอาการเดินได้ไม่นานก็เมื่อยน่อง จุดนี้ถ้ากดนาน(ถ้ากดถูก จะรุ้สึกถึงอาการ"แล่น" ของเส้น เป็นไปได้พยายามถามผู้ถูกนวดด้วยว่าแล่นหรือเปล่า ไม่ต้องอายที่จะถามครับ) นิ่งสัก10คาบลมหายใจ3-5ครั้ง แล้วนวดพื้นฐานขาตามปกติ เน้นเส้นหนึ่งและสังเกตุอย่างมี่บอกตอนต้น ก็ช่วยได้มาก หลายๆอาการของขา ก็มาจากเส้นพื้นฐานทั้งนั้น หมอนวดที่เก่งๆเพราะเขาหมั่นสังเกตและเน้นจุดที่ผิดปกติ ทำให้คนป่วยดีขึ้น





ด้วยความปรารถนาดี อ.สุวัฒน์ เชียงใหม่
สงสัยเรื่องต่างๆสามารถสอบถามได้ที่เบอร์ 089-191-1664
วีดีโออื่นๆ ดูได้ที่นี่ --> Thara Thai Massage Channel
ติดตาม facebook ได้ที่ --> https://www.facebook.com/TharaMassage

Tuesday, September 16, 2014

วันนี้ จะมาแนะนำ อาการอีกอาการหนึ่ง อาการนี้ห้ามนวดเด็ดขาด เพราะเป็นอันตราย บางทีหมอนวดไม่รู้ มารู้จักกันครับ
เซียนคอมฯ ระวังจะเป็น DVT (Deep Venous Thrombosis) (momypedia)
โดย: พอใจ

นั่งนาน ๆ รู้สึกปวดชาที่ขา และเท้าบวมแดง ระวังจะเป็น DVT ในโลกไฮเทคอย่างทุกวันนี้ เราคงปฏิเสธคอมพิวเตอร์ไม่ได้แล้ว แต่ระวังนะคะ มีคุณอนันต์ก็อาจมีโทษมหันต์ ถ้าใช้คอมพิวเตอร์อย่างไม่ถูกวิธี โรค DVT อาจจะถามหา

คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในโลกยุคใหม่ แม้แต่เด็ก ๆ คอมพิวเตอร์ก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเรียน นี่ยังไม่รวมวิถีชีวิตด้านอื่น ๆ อีก และด้วยเหตุนี้แหละค่ะที่ทำให้ร่างกายของเด็กได้รับผลกระทบต่างๆ ตามมาอีกมากจากการใช้คอมฯ แบบไม่รู้เท่าทัน

เพราะฉะนั้นไม่ว่าลูกเราจะตั้งใจทำงาน แช็ตคุยกับเพื่อน หรือแม้กระทั่งเอาแต่เล่นเกมคอมพิวเตอร์แบบไม่วางตานั้น ต่างก็ล้วนทำให้สุขภาพย่ำแย่ ไม่ว่าจะเป็นตาเมื่อยล้า ตาแห้ง แสบตา ตาสู้แสงไม่ได้ ตาพร่ามัว ปวดหัว ปวดเมื่อยบ่า ไหล่ คอ หรือปวดหลัง จากการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์นานๆ

นอกจากนี้ยังเสี่ยงกับการเป็นโรค Deep Venous Thrombosis (DVT- เส้นเลือดดำอุดตัน) หรือที่เราคุ้นกันในชื่อ Economy Class Syndrome อีกต่างหาก

โรคนี้ถูกค้นพบโดยนักวิจัยที่ได้ข้อมูลมาจากชายวัย 32 ปีผู้หนึ่ง ซึ่งต้องนั่งทำงานอยู่หน้าเทอร์มินัลคอมพิวเตอร์ประมาณ 18 ชั่วโมงต่อวันมานาน จนกระทั่งวันหนึ่งเขาต้องเข้าโรงพยาบาล เพราะอาการเลือดจับตัวเป็นก้อน โดยเริ่มจากบริเวณขาของเขาก่อนที่จะแตกกระจายไปยังปอดทั้งสอง จนเกิดอาการโคม่า ต้องรีบรักษาเป็นการด่วน จากเหตุการณ์นี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายเริ่มหันมาใส่ใจกับโรคนี้กันมากขึ้น มากกว่าจะเพ่งเล็งไปที่สาเหตุ จากการนั่งเครื่องบินชั้นราคาประหยัดเป็นเวลานานๆ เหมือนก่อน

ฉะนั้นถ้าเห็นลูกคร่ำเคร่งอยู่หน้าคอมฯ นาน ๆ ก็เตือนไว้บ้างค่ะว่า ถ้าเขารู้สึกปวดชาที่ขา และเท้าบวมแดงเมื่อไหรให้รีบลุกจากเก้าอี้มายืดเส้นยืดสายทันที เพราะถ้าลูกมัวทำงานเพลินหรือเล่นเกมจนติดพัน ไม่คอยจับสังเกตอาการ และแก้ไขให้ทันท่วงที ลูกจะกลายเป็นผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ เพราะการนั่งหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหลายชั่วโมง โดยไม่ลุกหรือขยับเขยื้อนร่างกายเลย จะทำให้เลือดซึ่งเคยไหลเวียนได้สะดวกจับตัวกันเป็นลิ่มๆ และอาจไปอุดตันตามอวัยวะที่สำคัญ เช่น ปอด หรือหัวใจ ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้ นี่ล่ะค่ะคือความเสี่ยงที่ลูก ๆ ของเราต้องระวังไว้บ้าง

แต่ถ้าเลี่ยงการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยก็ให้พยายามกระดิกนิ้วเท้าและข้อเท้า เมื่อเริ่มรู้สึกว่านั่งนานแล้ว หรือดื่มน้ำมากๆ เข้าไว้ และถ้าเป็นไปได้ควรลุกขึ้นมายืดแข้งยืดขาอย่างน้อยๆ ชั่วโมงละครั้งก็ยังดีค่ะ อ้อ...ท่าทางการนั่งที่ถูกต้องคือ นั่งลำตัวตรง ไม่ไขว้ขา จะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ด้วยค่ะ

เตือนลูก ๆ แล้ว ก็อย่าลืมเตือนตัวเองด้วยนะคะ หากคุณก็เป็นคนหนึ่งที่ต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เช่นกัน

การแพทย์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้จัดให้โรค DVT เป็นโรคของความผิดปกติที่ค่อนข้างร้ายแรงที่เกิดขึ้นกับขาส่วนล่าง ตั้งแต่หัวเข่าลงไป และจากการสำรวจพบว่าในจำนวนประชากร 1,000 คนจะมี 1 คนที่เป็นโรค DVT โดยที่อาจจะยังไม่แสดงอาการที่เด่นชัดออกมา และในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยถึง 600,000 คนที่มีอาการชัดเจนจนต้องเข้ารับการบำบัดรักษาในโรงพยาบาล
ขอขอบคุณข้อมูลจาก

momypedia

บทความเรียงตามเดือน

ช่องทางติดต่อ

เกี่ยวกับผู้เขียน

© อ.สุวัฒน์ มอบ" ให้" เป็นวิทยาทาน เพื่อให้นำไปพัฒนาวิชาชีพ. Powered by Blogger.
พิมพ์ข้อความเพื่อค้นหาบทความ หรือ อาการ
search for article or syndrome

Popular Posts